ทุกวันนี้เราใช้เครื่องไฟฟ้าวันละหลายชั่วโมง หลายๆบ้านอาจจะใช้ไฟทั้งวันเพราะ Work form home เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเปิดเป็นประจำมีทั้งหลอดไฟ พัดลม ทีวี ตู้เย็น แอร์ ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเภทมีกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน แล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรกินไฟที่สุดใน 10 อันดับ เราจะประหยัดไฟอย่างไรได้บ้างมาดูกันครับ
อันดับที่ 1 เครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟประมาณ 2,500-12,000 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ยชั่วโมงละ 10-47 บาท
อันดับที่ 2 เครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศ กินไฟประมาณ 1,200-3,300 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท
อันดับที่ 3 เครื่องซักผ้า
เครื่องซักผ้า โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าพร้อมอบแห้ง
กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท
อันดับที่ 4 เตารีดไฟฟ้า
เตารีดไฟฟ้า กินไฟประมาณ 750-2,000 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท
อันดับที่ 5 หม้อหุงข้าว
หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450-1,500 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท
อันดับที่ 6 เตาไฟฟ้า
เตาหุงต้มไฟฟ้า กินไฟประมาณ 200-1,500 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.80-5 บาท
อันดับที่ 7 เครื่องดูดฝุ่น
เครื่องดูดฝุ่น กินไฟประมาณ 750-1,200 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท
อันดับที่ 8 เครื่องปิ้งขนมปัง
เครื่องปิ้งขนมปัง กินไฟประมาณ 800-1,000 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-4 บาท
อันดับที่ 9 เครื่องเป่าผม
เครื่องเป่าผม กินไฟประมาณ 400-1,000 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท
อันดับที่ 10 เตาไมโครเวฟ
เตาไมโครเวฟ กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์
คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท
เป็นราคาโดยประมาณจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA)
วิธีประหยัดไฟ
1.ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5
การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟมากขึ้นได้ เพราะกระทรวงพลังงานได้ช่วยการันตีคุณภาพของการติดตั้ง
2.วางแผนการใช้งาน
ทุกครั้งก่อนใช้งานต้องผ่านการวางแผนใช้งานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่คุณ ยกตัวอย่างเช่นจะเปิดแอร์ ก็เรียกกันมานอนหลาย ๆ คน จะรีดผ้าก็รวมกันไว้หลาย ๆ ตัว ยกเว้นการซักผ้า หากเก็บไว้หลายวันจะเหม็นอับสักหน่อย
3.ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้
ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องถอดปลั๊กออก เพราะกระแสไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ในระบบ แม้ว่าจะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม และป้องกันการลัดวงจรภายใน จะทำให้เครื่องไฟฟ้าเสียหาย กินไฟมากกว่าเดิมและอาจจะต้องซื้อใหม่อีก
4.สับเบรกเกอร์เมื่อไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน
เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หากคุณจะเดินทางไปต่างจังหวัด ไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน ควรจะสับคัทเอ้าท์ลง เพราะหากวงจรไฟยังเดินอยู่ทั้งบ้าน ค่าไฟก็จะยังคงวิ่งตามอยู่ด้วย และหากเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน เพียงแค่ออกจากบ้านก็ต้องสับลงด้วย ไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนและความชื้นได้ง่ายกว่าฤดูอื่นอยู่แล้ว
5.ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายภายใน แม้ว่าจะเป็นรอยขาดของสายไฟเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังไฟมากขึ้น กระแสไฟฟ้าจะรั่วออก เหมือนเราเปิดสายยางแล้วน้ำรั่วออกตลอดเวลา
ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย อย่าลืมถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย หากใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพงอีกต่อไป ลองเช็กตัวเองดูอีกครั้งนะครับ
ที่มา : baanbaan , jorakay , การไฟฟ้านครหลวง (MEA)
สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
>> เลือกชมได้ที่นี่คลิก <<
ชม รีวิวบ้านมือสองตกแต่งใหม่ คลิก
ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล
สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ >> คลิกที่นี่ <<
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น