ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการ LTV รูปแบบใหม่ ที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ผู้ที่ซื้อบ้านหลังที่ 2 และผู้ซื้อบ้านมูลค่า 10 ล้านขึ้นไปถูกบังคับให้มีเงินดาวน์ 10-20% ด้วยกัน
เราจึงอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจ LTV ให้มากขึ้นด้วยไม่ว่าจะเป็นความหมาย กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบและใครบ้างได้ประโยชน์ส่วนนี้กันอีกบ้าง
จากข่าวล่าสุด 21 ต.ค.64 ธปท.ได้ออกหนังสือฉบับนี้เพื่อผ่อนปรนมาตรการ LTV เป็นการชั่วคราว โดยมีผลบังคับใช้สำหรับสัญญาเงินกู้ยืมเงินตั้งแต่วันที่ในหนังสือฉบับนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ กรณีคำขอกู้ที่สถาบันการเงินและ SFIs ได้รับภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 แต่ไม่สามารถทำสัญญาเงินกู้ยืมเงินได้ทัน ให้ถือว่าการอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวยังได้รับสิทธิตามมาตรการผ่อนปรน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรวมสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เป็น 100% สำหรับ
(1.) กรณีมูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งแต่สัญญาที่ 2 เป็นต้นไป และ(2.) กรณีมูลค่าหลักประกันตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่สัญญาที่ 1 เป็นต้นไป (สำหรับสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ 1 ซึ่งมีมูลค่าหลักประกันต่ำกว่า 10 ล้านบาท ให้มีเพดาน LTV ratio สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คือ 100% และ 10% ตามลำดับเช่นเดิม)
ทั้งนี้ สำหรับสินเชื่อเพื่อ refinance หรือสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มเติมที่ให้ภายหลังจากการให้สินเชื่อเพื่อ refinance ของลำดับสัญญาข้างต้น ต้องไม่เกินยอดคงค้างเดิมของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น ๆ หรือตามเพดาน LTV ratio ที่ 100% แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
กลุ่มคนที่ซื้อบ้านหลังที่ 2 ที่ได้รับผลกระทบจาก มาตรการ LTV (เดิม)
กรณีที่ 1 เมื่อคุณกำลังผ่อนบ้านหรือคอนโดหลังแรกอยู่ แล้วต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 มาตราการ LTV ฉบับใหม่นี้ จะกำหนดให้วางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% ของมูลค่าบ้าน หรือสัดส่วนวงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของมูลค่าบ้าน
กรณีที่ 2 หากคุณผ่อนบ้านหรือคอนโดเกิน 3 ปีแล้ว และต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 มาตราการ LTV ฉบับใหม่ จะกำหนดให้วางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% ของมูลค่าบ้าน หรือสัดส่วนวงเงินกู้ไม่เกิน 90% ของมูลค่าบ้าน
และผู้ที่กู้บ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เดิมกำหนดให้วางดาวน์ 10%
สรุป ซึ่งเมื่อผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผู้ที่กู้บ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป จะได้รับมาตรการผ่อนปรน LTV 100% โดยไม่ต้องเสียเงินดาวน์ 10% จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
LTV คืออะไร
"มาตรการ LTV อธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือเกณฑ์ที่กำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือกำหนดว่าผู้กู้จะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเท่าไรนั่นเอง"
LTV นั้นย่อมาจากคำเต็มว่า loan-to-value ratio หมายถึง อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน ตัวอย่างเช่น หากบ้านราคา 2 ล้านบาท และกำหนดให้ LTV = 90% หมายความว่าเราจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เพียง 1.8 ล้านบาท (90% x 2 ล้าน) และต้องวางเงินดาวน์อีก 2 แสนบาทสำหรับส่วนที่เหลืออีก 10% ของราคาบ้านนั่นเอง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions : SFIs)
หมายถึง สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจ และสนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังซึ่งได้มอบหมายให้ ธปท. ทำหน้าที่ตรวจสอบผลการดำเนินงานและความเสี่ยง และรายงานผลการตรวจสอบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร, ธนาคารอาคารสงเคราะห์,ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย,ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank), บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม, บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ด้านดีๆ ของ LTV
มาตรการ LTV ใช่ว่าจะมีแต่แง่มุมด้านลบต่อผู้ที่ต้องการกู้ซื้อบ้านอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังคงมีด้านดีที่หลายคนนึกไม่ถึงดังนี้
-ช่วยลดอัตรา NPL หรือหนี้เสีย ซึ่งมีผลต่อสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
-ป้องกันการเกิดภาวะฟองสบู่แตก อันมีผลต่อเศรษฐกิจประเทศ
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย , prachachat.net , sansiri.com
สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
>> เลือกชมได้ที่นี่คลิก <<
ชม รีวิวบ้านมือสองตกแต่งใหม่ คลิก
ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล
สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ >> คลิกที่นี่ <<
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น