หลายคนเข้าใจว่าการจะขายบ้านมือสองได้ ผู้ขายก็ต้องปิดหนี้เก่าที่กำลังผ่อนอยู่ให้หมดก่อน ซึ่งนั่นคือความจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น จริงอยู่ที่บ้านจะขายได้เมื่อปลอดจำนอง หรือก็คือ การไถ่ถอนออกจากผู้รับจำนองก่อน แต่ธนาคารก็ยอมให้เจ้าของขายบ้านติดธนาคารได้ ขอแค่นำเงินจากผู้ซื้อมาปิดบัญชีหนี้ก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ก็พอ ดังนั้น เมื่อผู้ขายนำเงินที่ขายบ้านติดธนาคารมาดำเนินการปลอดจำนองแล้ว ก็จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อได้ทันที
ขั้นตอนการขายบ้านติดธนาคาร
ขั้นตอนการขายบ้านติดธนาคารนั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือยุ่งยากอย่างที่ใคร ๆ หลายคนคิด เพียงแต่ผู้ขายนั้นต้องมีการพิจารณาราคาขายบ้านให้เหมาะสม เพื่อที่ในที่สุดแล้วผู้ขายเองจะได้นำเงินในส่วนนั้นมาชำระเพื่อปิดยอดหนี้ให้ครบสมบูรณ์นั่นเอง
1. ตกลงราคาและทำสัญญาจะซื้อ-จะขายบ้านติดธนาคาร
เมื่อมีผู้ที่สนใจซื้อบ้านติดต่อเข้ามาเพื่อทำการพูดคุยเรื่องการซื้อบ้าน ผู้ขายบ้านจะต้องแจ้งกับผู้ซื้อว่า บ้านหลังที่กำลังจะขายนี้เป็นบ้านที่ติดจำนอง แต่จะจัดการทำเรื่องปลอดจำนองให้ในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้สนใจซื้อบ้านได้รับทราบอย่างจริงใจ หลังจากนั้นจึงทำการตกลงราคา และแจกแจงข้อมูลต่างๆ ให้ผู้ซื้อทราบ ไม่ว่าจะเป็นค่ามัดจำ ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ และระยะเวลาในการดำเนินการต่างๆ
2. จัดการเอกสาร
โดยผู้ขายจะต้องทำการเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับโฉนดของบ้านติดธนาคาร เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถนำเอกสารของบ้านติดธนาคารนี้ ไปทำธุรกรรมในการยื่นกู้ซื้อบ้านต่อไป
3. เตรียมเปิดบ้านเพื่อประเมินราคา
โดยหลังจากที่ทางธนาคารได้รับเรื่องจากผู้ที่ต้องการซื้อบ้านติดธนาคารเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ทางธนาคารจะและผู้ซื้อจะทำการนัดวันเพื่อประเมินราคาบ้านติดธนาคารในลำดับต่อไป
4. นัดวันโอนกรรมสิทธิ์
โดยหากผู้ซื้อได้ผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากทางธนาคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปจะเป็นขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์บ้านติดธนาคารให้กับผู้ซื้อ ซึ่งธนาคารฝั่งผู้ซื้อจะเป็นฝ่ายนัดวันโอนกรรมสิทธิ์กับผู้ขายเอง
5. ติดต่อธนาคาร
เพื่อเป็นการแจ้งเกี่ยวกับการขายบ้านติดธนาคาร และการขอปิดยอดหนี้จากการจำนองบ้านติดธนาคาร โดยหากผู้ขายได้แจ้งวันโอนกรรมสิทธิ์บ้านติดธนาคารหลังดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางธนาคารก็จะจัดการแจ้งยอดหนี้เพื่อปิดบัญชีหนี้ในวันที่โอนกรรมสิทธิ์บ้านนั่นเอง
6. อธิบายเรื่องการแบ่งชำระเงิน
โดยผู้ขายบ้านจะต้องอธิบายเกี่ยวกับการแบ่งชำระเงินให้กับทางผู้ซื้อได้ทราบ ว่าจะต้องแบ่งจ่ายเงินเป็นจำนวนกี่บาทเพื่อให้ผู้ขายสามารถดำเนินการทำเรื่องปลอดจำนองกันทางธนาคารได้ โดยหากราคาขายบ้านนั้นสูงกว่ายอดหนี้ของผู้ขาย ผู้ซื้อจะต้องนำเงินส่วนต่างนั้นมาจ่ายให้กับผู้ขาย และหากราคาขายบ้านต่ำกว่ายอดหนี้ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับการดำเนินการทำเรื่องปลอดจำนอง ผู้ขายบ้านเองจะต้องเป็นคนชำระส่วนต่างนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการทำเรื่องปลอดจำนองได้ในที่สุด
7. ติดต่อกรมที่ดิน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการซื้อขายบ้านติดธนาคาร ซึ่งเมื่อผู้ขายได้ทำการปิดยอดหนี้ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ทางธนาคารฝั่งผู้ซื้อก็จะทำขั้นตอน ปลอดจำนอง แล้วจึงจะเริ่มดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์บ้านปลอดจำนองให้กับผู้ซื้อต่อไป
ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าการเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายบ้านติดธนาคารนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากหรือน่ากลัวเลยสักนิด ขั้นตอนการซื้อ-ขายก็ไม่ได้ยากหรือมีกระบวนการที่ซับซ้อนจนเกินไป
ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสองในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล บ้านมือสองนนทบุรี กับบางกอก แอสเซทฯ
สามารถติดต่อได้ที่นี่ กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ >> คลิกที่นี่ <<