เคล็ดไม่ลับ “กำจัดเสียงรบกวน” ชวนปวดหู รักษาพื้นที่ส่วนตัว

 


ใครกำลังเจอกับปัญหา “เสียงรบกวน” กับ “พื้นที่ส่วนตัว” คงรู้ดีว่านี่คือปัญหาที่ชวนปวดหูขนาดไหน โดยเฉพาะเสียงรบกวนจากภายนอกที่ทำลายความสงบในบ้านเรา แถมพูดมากก็ไม่ได้อีก ลำบากใจ รวมถึงปัญหาเสียงดังรบกวนภายในบ้านเอง หรือจะเสียงสะท้อนภายในห้องก็สร้างความรำคาญใจได้เช่นกัน นี่ล่ะเราถึงควร กำจัดเสียงรบกวน ให้ถูกจุด เพื่อความสุขที่ยังเหลืออยู่ วันนี้ขอหยิบเคล็ดลับ ที่จะช่วยจัดการปัญหาเรื่อง “เสียงดังรบกวน” มาฝากกันครับ

 

รู้ปัญหา และแก้ให้ตรงจุด

1-3.jpg

 

เริ่มแยกปัญหาของเสียงให้ถูก ซึ่งจะมีการจัดการอยู่ 2 แบบ

 

1. กั้นเสียง เข้า–ออก

เมื่อเราต้องการปิดกั้นเสียงไม่ดังให้เข้ามา หรือดังเล็ดลอดออกไป เช่น เสียงดังรบกวนจากภายนอกจากท้องถนน เสียงความสุขของเพื่อนบ้านยามค่ำคืน หรือเสียงรบกวนกันเองภายในที่อยู่อาศัย ที่เริ่มหลอมเรารวมกัน จนความเป็นส่วนตัวหายไป เป็นต้น เราจึงควรจัดการปิดกั้นเสียงรบกวนเหล่านั้น (มลภาวะทางเสียง)

 

2. ลดเสียงสะท้อนภายใน

เสียงก้องสะท้อน (Echo) ภายในห้องที่มากจนเกินไปกลายเป็นเสียงรบกวนการสื่อสารที่สร้างความรำคาญเราก็ควรจัดการด้วยการเลือกวัสดุมาซับเสียงในห้องลดความก้องกังวานจนได้ระดับที่เหมาะสม

“ฉนวนกันเสียง กับแผ่นดูดซับเสียง ไม่เหมือนกัน”

“ฉนวนกันเสียง” เป็นแผ่นใยแก้ว / ใยหิน ขนาดใหญ่ที่จะติดตั้งโครงของในผนังเบาที่เรากั้นขึ้น (โครงคร่าว) เพื่อดูดซับเสียงไม่ให้เล็ดลอดไปอีกฝั่งได้

“แผ่นดูดซับเสียง” มีทั้งที่เป็นแผ่นใยแก้ว (กลาสวูล) หุ้มด้วยผ้าหรือเป็นแผ่นโฟมใช้สำหรับติดผนังหรือฝ้าเพื่อช่วยซับเสียงและลดเสียงสะท้อนภายใน


พรมสวย ก็ช่วยซับเสียงได้

2-3.jpg

การปูพรมบนพื้นในห้องนอกจากจะสวยงามช่วยเพิ่มสัดส่วนให้กับห้องแล้วยังมีคุณสมบัติช่วยดูดซับเสียงสะท้อนได้เป็นอย่างดีซึ่งไม่ใช่แค่พรมนะครับแต่การเลือกใช้ผ้าม่านผ้าบุเฟอร์นิเจอร์การติดวอลเปเปอร์ที่มีลายนูนสูงต่ำจัดวางชั้นวางของติดตั้งชั้นบิลท์อินหรือแม้แต่การจัดวางของใช้ต่างๆภายในห้องก็มีส่วนช่วยในการดูดซับเสียงได้ลดปัญหาเสียงสะท้อน

 

วัสดุที่มีรูพรุนต่างๆ ช่วยซับเสียงได้

3-4.jpg

เช่น แผ่นโฟม แผ่นไม้อัด แผ่นใยสังเคราะห์ และเราจะเรียกวัสดุที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงแบบรวมๆ ว่าเป็นวัสดุ “อะคูสติก”

 

ทำแผ่นซับเสียงเองก็ได้

4-3.jpg

เราสามารถประยุกต์แผ่นอะคูสติกเอง (กรณีจำเป็น หรือชั่วคราว) จากวัสดุใกล้ตัวที่มีรูพรุนได้เช่นผ้านวมหนากระดาษทำลวดลายนูนสูงต่ำหรือแผงไข่กระดาษที่หลายคนนิยมนำมาใช้แต่อย่าลืมคำนึงเรื่องความสวยงามนะครับ

 

แค่รูเล็กๆ เสียงก็ผ่านได้นะ

5-4.jpg

ดังนั้นถ้าต้องการกั้นเสียงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประตู–หน้าต่าง ต้องแน่นหนา ซีลขอบวงกบให้ดี เพราะเสียงสามารถผ่านเข้าออกได้จากรูต่างๆ เช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่รูกุญแจ หรือเลือกใช้หน้าต่างที่ปิดมิดชิด อาทิ บานเปิด บานกระทุ้ง ซึ่งปิดสนิทกว่าหน้าต่างบานเลื่อน และหน้าต่างบานเกล็ด


ปลูกต้นไม้ ช่วยกั้นเสียงได้

6-3.jpg

นอกจากรั้วกำแพงบ้านจะเป็นส่วนหลักที่คอยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกการปลูกต้นไม้ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยลดเสียงรบกวนได้ซึ่งเหมาะสำหรับใครที่ไม่อยากก่อกำแพงสูงเทอะหนาเตอะ ดูไอเดีย กำแพงต้นไม้ ได้เลย