เมื่อผ่อนบ้านหรือคอนโด มาเป็นระยะเวลาเกิน 3 ปี ก็ถึงเวลาแล้วที่เราต้องขอปรับลดดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เพราะหลังจากนั้นดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า (ขึ้นอยู่กับ MRR ตอนนั้น) ซึ่งหากคุณจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำอะไรเลย ก็มีโอกาสที่จะเสียดอกเบี้ยเป็นแสนไปฟรีๆ
ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยนั้นก็มีอยู่ 2 วิธีที่สามารถทำได้ คือ ‘การขอรีไฟแนนซ์’ และ ‘การขอลดดอกเบี้ย’ โดยทั้ง 2 วิธีก็ต่างมีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง ซึ่งวิธีแบบไหนเหมาะกับคุณ บางกอก แอสเซทฯมีข้อเปรียบเทียบมาให้พิจารณากันครับ
รีไฟแนนซ์ (Refinance)
การขอรีไฟแนนซ์ คือการย้ายวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าใหม่ด้วยการให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าเดิม
ข้อดี
ดอกเบี้ยถูกลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราผ่อนสินเชื่อหมดเร็วขึ้น
ข้อควรระวัง
ต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอ Refinance ใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาในการยื่นเรื่องนานกว่าการขอ Retention และมีค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่มากกว่า อาทิ ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ค่าประกันอัคคีภัย และค่าธรรมเนียมจัดการสินเชื่อ
ขอลดดอกเบี้ย (Retention)
การขอลดดอกเบี้ย หรือ Retention คือ การติดต่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ซึ่งจะอนุมัติหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการชำระหนี้ และนโยบายของธนาคารหรือสถาบันการเงินในช่วงเวลานั้นๆ
ข้อดี
ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารใหม่ มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมน้อยกว่า Refinance และใช้เวลาพิจารณาอนุมัติไม่นาน
ข้อควรระวัง
มักลดดอกเบี้ยให้ไม่มากเมื่อเทียบกับ Refinance
แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกแบบไหน อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขของแต่ละธนาคารอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจนะครับ
สรุป
ไม่ว่าจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม หรือธนาคารใหม่ ก็ประหยัดดอกเบี้ยทั้งนั้น แต่อาจจะประหยัดไม่เท่ากัน ช่วงแรกๆรีไฟแนนซ์จะประหยัดกว่าเยอะมาก แต่ช่วงหลังๆที่ยอดหนี้เหลือน้อย รีเทนชั่นอาจคุ้มกว่า โดยผู้กู้ควรเลือกอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในเงื่อนไขที่ดีที่สุดที่มา : ananda.co.th, finstreet.co, ddproperty.com
สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อบ้านพร้อมอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
ผู้ที่สนใจฝากขาย บ้านมือสอง ในกรุงเทพฯ บ้านมือสองนนทบุรี และปริมณฑล
สามารถติดต่อได้ที่นี่กรอกข้อมูลบ้าน และช่องทางติดต่อกลับ >> คลิกที่นี่ <<
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น